หจก.เนเชอรัล-เอ็นเนอยี่ เรนิวเอเบิล
www.naturalenergyth.com
SHARE:
5. เทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้า

    
          ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลมเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็น พลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้หักโค่นลงสิ่งของวัตถุต่างๆล้มหรือปลิวลอยไปตามลมฯลในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให ้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไปไม่ต้องซื้อหาเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น

    ชนิดของกังหันลมผลิตไฟฟ้า

          ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสนใจโดยเฉพาะในทวีปยุโรป เช่น ประเทศเดนมาร์กกังหันลมที่ได้มีการพัฒนากันขึ้นมานั้นจะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าจำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันจะได้ 2 แบบ

               
    กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)
          เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลม โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลมมีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของกระแสลม เรียกว่า หางเสือและมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันชำรุดเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุ และตั้งอยู่บนเสาที่แข็งแรง กังหันลมแบบแกนนอน ได้แก่ กังหันลมวินด์มิลล (Windmills) กังหันลมใบเสื่อลำแพนนิยมใช้กับเครื่องฉุด น้ำกังหันลมแบบกงล้อจักรยานกังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพรอบเพลเลอร์ (Propeller)                                                                              

                                                                                                                    

    กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)
       กังหันลมแบบแนวแกนนอนเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากออกแบบให้เป็นชนิดที่ขับใบกังหันด้วยแรงยก แต่อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบแนวแกนตั้งซึ่งได้รับการพัฒนามากในระยะหลังก็ได้รับความสนใจมากขึ้น เช่นกันทั้งนี้ เนื่องจากข้อดีกว่าแบบแนวแกนนอน คือ ในแบบแนวแกนตั้งนั้นไม่ว่าลมจะเข้ามาทิศไหนก็ยังหมุนได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลมนอกจากนี้แล้วแบบแนวแกนตั้งนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบการส่งกำลังวางไว้ใกล้พื้นดินมากกว่าแบบแกนนอน เวลาเกิดปัญหาแก้ไขง่ายกว่าแบบแกนนอนที่ติดอยู่บนหอคอยสูงการจำแนกตามลักษณะตามแนวแกนหมุนนิยมมากเพราะเด่นชัดที่สุดและเข้าใจได้ง่ายส่วนการจำแนกตามลักษณะแรงขับของกระแสลมนั้นต้องใชความรู้ทางอากาศกลศาสตร์ (Aerodynamic) ประกอบด้วย กังหันลมแบบแนวแกนนอนเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย 

เทคโนโลยีกังหันลม

          ส่วนมากออกแบบให้เป็นชนิดที่ขับใบกังหันด้วยแรงยกแต่อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบแนวแกนตั้งซึ่งได้รับการพัฒนามากในระยะหลังก็ได้รับความสนใจมากขึ้น    เช่น กันทั้งนี้เนื่องจาก ข้อดี กว่าแบบแนวแกนนอน คือ ในแบบ แนวแกนตั้งนั้นไม่ว่าลมจะเข้ามาทิศไหนก็ยังหมุนได้โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลมนอกจากนี้แล้วแบบแนวแกนตั้งนั้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบการส่งกำลังวางไว้ใกล้พื้นดินมากกว่าแบบแกนนอนเวลาเกิดปัญหาแก้ไขง่ายกว่าแบบแกนนอนที่ติดอยู่บนหอคอยสูง

เทคโนโลยีกังหันลม


 ส่วนประกอบของระบบกังหันลมผลิตไฟฟ้า

          1. ใบพัด เป็นตัวรับพลังลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล ซึ่งยึดติดกับชุดแกนหมุนและส่งแรงจากแกนหมุนไปยังเพลาแกนหมุน
          2. เพลาแกนหมุน ซึ่งรับแรงจากแกนหมุนใบพัด และส่งผ่านระบบกำลังเพื่อหมุนและปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
          3. ห้องส่งกำลัง ซึ่งเป็นระบบปรับเปลี่ยนและควบคุมความเร็วในการหมุนระหว่างเพลาแกนหมุนกับเพลาของเคริ่องกำเนิดไฟฟ้า
          4. ห้องเครื่อง ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อกังหันลม ใช้บรรจุระบบต่างๆ ของกังหันลม เช่น ระบบเกียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เบรกและระบบควบคุม
          5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า  
          6. ระบบควบคุมไฟฟ้า ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงานและจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ
          7. ระบบเบรค เป็นระบบกลไกเพื่อใช้ควบคุมการหยุดหมุนของใบพัดและเพลาแกนหมุนของกังหันเมื่อได้รับความเร็วลมเกินความสามารถของกังหันที่จะรับได้และ
ในระหว่างการซ่อมบำรุงรักษา
          8. แกนคอหมุนรับทิศทางล เป็นตัวควบคุมการหมุนห้องเครื่องเพื่อให้ใบพัดรับทิศทางลมโดยระบบอิเลคทรอนิคส์ ที่เชื่อมต่อให้มีความสัมพันธ์ กับหางเสือรับทิศ
ทางลมที่อยู่ด้านบนของเครื่อง
         9. เครื่องวัดความเร็วลมและทิศทางลม ซึ่งเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นตัวชี้ขนาดของความเร็วและทิศทางของลม เพื่อที่คอมพิวเตอร์
จะได้ควบคุมกลไกอื่นๆ ได้ถูกต้อง
         10. เสา ซึ่งตั้งอยู่ที่พื้นที่ที่ทำการก่อสร้างอย่างถูก วิธีตามหลักวิศวกรรมและเป็นตัวแบกรับส่วนที่เป็นตัวเครื่องที่อยู่ข้างบน 

http://www4.egat.co.th/re/egat_wind/wind_technology.htm

เพิ่มเติมอื่นๆ
3. กำลังไฟฟ้าวัตต์ คืออะไร
อ่านต่อ
9. การเลือกซื้อสัญญาณไฟจราจร Solar Flashing Signal
อ่านต่อ
1. การเลือกเครื่องควบคุมการชาร์จ
อ่านต่อ
18. ระบบโซล่าเซลล์ On Grid คืออะไร
อ่านต่อ
12. หลอดไฟ LED กินไฟน้อยลงแต่สว่างมากขึ้น จริงหรือ
อ่านต่อ
11. พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร
อ่านต่อ
ติดต่อสอบถาม
ออกแบบและติดตั้ง : กังหันลมผลิตไฟฟ้า Solar Farm Solar rooftop ไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า และอุปกรณ์พลังงานทดแทนอื่นๆ แบบครบวงจร ฯลฯ
ส่งข้อความติดต่อสอบถาม
Subject *
Number for confirm!:
4257
Contact details *
Our Social media