หจก.เนเชอรัล-เอ็นเนอยี่ เรนิวเอเบิล
www.naturalenergyth.com
SHARE:
16. วัฏจักรชีวิตของแผงโซลาร์เซลล์

          เมื่อเร็วๆ นี้ การลงทุนระบบพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นเทรนด์ทั่วโลก และมีต้นทุนถูกลงโดยสามารถแข่งขันกับระบบการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้แล้ว อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นกังวลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และการจัดการแผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุการใช้งาน บทความนี้จะสำรวจมิติว่าด้วยความยั่งยืนดังกล่าว

    อายุของแผงโซลาร์เซลล์

          แผงโซลาร์เซลล์ใช้งานได้นานเพียงใด? เป็นคำถามที่หลายคนมีอยู่ในใจ จากการศึกษาพบว่า  อายุของแผงโซลาร์เซลล์(life expectancy of solar panels) อยู่ในราว 30 ปี ก่อนถูกปลดระวางตลอดช่วงอายุการใช้งาน ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์อาจลดลงราวร้อยละ 20 ในช่วง 10-12 ปีแรก ประสิทธิภาพจะลดลงสูงสุดประมาณร้อยละ 10 และร้อยละ 20 เมื่อใช้งานไป 25 ปี ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ แต่จากประสบการณ์จริงพบว่า ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์จะลดลงเพียงร้อยละ 6-8 เมื่อใช้งานไป 25 ปี ช่วงชีวิตการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จึงอาจนานกว่าที่มีการประมาณอย่างเป็นทางการ หากเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพสูง การใช้งานอาจมากกว่า 30-40 ปี และยังคงสามารถทำงานได้หลังจากนั้นแม้ว่าประสิทธิภาพจะลดลงก็ตาม

วัฎจักรแผงโซล่าเซลล์

    แผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุการใช้งาน
          ในเชิงกฏหมาย แผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานถูกจำแนกให้เป็น “กากของเสีย” ในกรณีของสหภาพยุโรป แผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานเป็น “ขยะอิเล็กทรอนิกส์(e-waste)” ภายใต้ กฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า(Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) Directive) เพิ่มเติมจากกรอบข้อบังคับอื่นๆ ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์จะต้องทำตามข้อกำหนดเฉพาะในกฎหมายและมาตรฐานการรีไซเคิลเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าแผงโซลาร์เซลล์จะไม่กลายเป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อหมดอายุการใช้งานและด้วยเหตุนี้เองที่เทคโนโลยีรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์จึงเกิดขึ้นมา 


          ส่วนในประเทศไทย หาก(ร่าง)พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่นซึ่งเป็นฉบับที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 ถูกนำมาใช้ ก็จะสามารถเป็นกรอบทางกฎหมายในการจัดวางการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานให้มีความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมได้

วัฎจักรแผงโซล่าเซลล์

    กระบวนการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์
          แผงโซลาร์เซลล์แต่ละชนิดทั้งชนิดซิลิกอน (silicon based) และชนิดฟิล์มบาง (thin-film based) มีแนวทางการรีไซเคิลที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์นำเสนอออกมาในเชิงเทคโนโลยีแบบต่างๆ เทคโนโลยีบางแบบสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 96 และมุ่งที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

          แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิลม์บาง(Thin Film) อาจมีส่วนประกอบของโลหะหนักอยู่บ้าง เช่น แคดเมียมหรือเทลลูไรด์ ข้อมูลจากงานวิจัยจำนวนมากยังไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่ามีสารพิษรั่วไหล จากแผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้

          การผลิตแผงโซลาร์เซลล์มีขั้นตอนและกระบวนการการผลิตที่ต้องมีความรับผิดชอบ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีอันตราย เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ เพื่อทำความสะอาดแผ่นซิลิกอน (คล้ายกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ) เป็นต้น หรือ โลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น แคดเมียม เป็นต้น มีทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับวัตถุดิบอื่นๆในกระบวนการผลิตแล้ว ทั้งนี้ ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์และการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยและเป็นระบบ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

          กระบวนการรีไซเคิลต้องการเวลาในการดำเนินงานที่ครอบคลุมและต้องมีการวิจัยต่อไปเพื่อให้ บรรลุศักยภาพอย่างเต็มที่ในการนำเอาชิ้นส่วนทุกชิ้นของแผงโซลาร์เซลล์มารีไซเคิล มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยการออกแบบและหน่วยการรีไซเคิลจะต้องประสานงานกันอย่างใกล้ ชิดโดยคำนึงถึงการออกแบบชิงนิเวศ (e-co design)

วัฎจักรแผงโซล่าเซลล์

    การจัดการแผงโซลาร์เซลล์เมื่อหมดอายุการใช้งาน
          แผ่นกระจกบนแผงโซลาร์เซลล์ร้อยละ 90 และสารกึ่งตัวนำ(ซึ่งมีส่วนประกอบของแร่หายาก) ถึงร้อยละ 95 สามารถนำมารีไซเคิลได้ การคาดการณ์ระบุ แผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ทำให้ในยุโรปเริ่มมีกระบวนการรีไซเคิลเพื่อจัดการกับแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานด้วยความรับผิดชอบและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมบริษัทที่ผลิตแผ่นฟิล์มอย่างเฟิร์สโซลาร์ (First Solar) เสนอโครงการรีไซเคิลขนาดใหญ่ที่จะเก็บแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้งานแล้วถึงร้อยละ 85 และนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้มากกว่าร้อยละ 80 ของทั้งหมด โดยผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรปได้เสนอให้มีการรีไซเคิลได้โดยสมัครใจ


https://www.greenpeace.org/thailand/story/6609/solar-cell-mangement/

เพิ่มเติมอื่นๆ
19. แผงโซล่าเซลล์ควรหันไปทางทิศใด
อ่านต่อ
11. พลังงานแสงอาทิตย์ คืออะไร
อ่านต่อ
5. เทคโนโลยีกังหันลมผลิตไฟฟ้า
อ่านต่อ
3. กำลังไฟฟ้าวัตต์ คืออะไร
อ่านต่อ
14. ทำไมต้องหลอด LED
อ่านต่อ
1. การเลือกเครื่องควบคุมการชาร์จ
อ่านต่อ
ติดต่อสอบถาม
ออกแบบและติดตั้ง : กังหันลมผลิตไฟฟ้า Solar Farm Solar rooftop ไฟถนนพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า และอุปกรณ์พลังงานทดแทนอื่นๆ แบบครบวงจร ฯลฯ
ส่งข้อความติดต่อสอบถาม
Subject *
Number for confirm!:
2486
Contact details *
Our Social media